หมดปัญหาเมื่อเจออาการ ‘เมาเครื่องบิน’ หรือ ‘ปวดหู’ ขณะขึ้นเครื่องบิน!

เมื่อเครื่องบินทะยานขึ้นสู่ท้องฟ้า ไม่ใช่แค่สายตาจะได้สัมผัสกับบรรยากาศรอบข้างที่สวยงามชวนมอง แต่ความดันอากาศที่เปลี่ยนแปลงก็อาจทำให้ระบบประสาทส่วนกลางเหมือนกำลังตีกันภายในร่างกาย ทำให้เกิดอาการ airsickness เช่น เมาเครื่องบิน, ปวดหู ฯลฯ อาจรุนแรงถึงขั้นมีอาการบ้านหมุน เลือดออกหู ออกจมูก กันได้เลยทีเดียว ด้วยความห่วงใยจาก RABBIT CARE เลยขอมาบอกต่อวิธีป้องกันและแก้ไขให้ไม่เจอปัญหาขณะอยู่บนเครื่องบินกันman in black crew neck shirt covering his face with black and white textile

 

สาเหตุของ ‘เมาเครื่องบิน’ และ ‘ปวดหู’

ปกติอาการเมาเครื่องบินจะคล้ายกับอาการเมารถ ทั้งสาเหตุและอาการ คือเกิดจากร่างกายไม่สามารถสื่อสารให้สัมพันธ์กันได้จนภายในเหมือนตีกัน มีเพียงขนในหูชั้นในที่ไวต่อการเคลื่อนไหวจะสัมผัสได้ว่า เครื่องบินพุ่งทะยานขึ้นสูงด้วยความเร็วและแรงมาก ในขณะที่ตายังมองเห็นว่า นิ่งอยู่ จนสมองเริ่มสับสนแล้วว่า ร่างกายเราเคลื่อนไหวหรืออยู่นิ่งกันแน่ เลยวิงเวียนศีรษะอ่อนเพลีย คลื่นไส้ และอาเจียน  ส่วนปวดหูมักจะเกิดจากแรงดันอากาศที่เปลี่ยนอย่างรวดเร็ว ทำให้ท่อยูสเตเชียน ปรับความดันภายในกับภายนอกหูไม่สมดุลจนหูอื้อนั่นเอง

 

วิธีป้องกัน ‘เมาเครื่องบิน’ และ ‘ปวดหู’

1) ทานยาแก้เมารถ เพราะสามารถใช้ลดผลกระทบจากเมาเครื่องบินได้เหมือนกัน แต่อาจต้องระวัง เพราะบางตัวทานแล้วง่วงมาก ส่วนใครที่กลัวหูอื้ออาจใช้ยากลุ่มลดอาการคัดจมูก แต่ก่อนจะใช้ยาอะไรก็ตามควรปรึกษาเภสัชกรหรือแพทย์ก่อนเสมอ

2) หลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารมันๆ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

3) ดื่มน้ำเยอะๆ ให้ร่างกายไม่ขาดน้ำ และอะไรก็ได้ที่เป็นขิง เช่น ลูกอมขิง ฯลฯ ให้ระบบย่อยอาหารไม่หดเกร็งหรืออาเจียนง่าย และการอมลูกอมหรือกลืนน้ำลายช่วยลดโอกาสหูอื้อด้วย

4) หลีกเลี่ยงการใส่ที่อุดหูหรือนอนหลับขณะเครื่องบินกำลังเปลี่ยนระดับ

5) เลือกที่นั่งในตำแหน่งที่จะลดปัญหาเมาเครื่องบิน โดยเฉพาะส่วนหน้าของเครื่องบินหรือปีกเครื่องบิน และชิดกับริมหน้าต่างมากที่สุด ถ้าที่นั่งไม่ว่างแนะนำให้แจ้งแอร์โฮสเตสเพื่อปรับเปลี่ยนที่นั่งหรือหาวิธีดูแลเพิ่มเติม 

 

แก้ปัญหาเมื่อเจออาการยังไง?

สำหรับใครที่ทำตามวิธีป้องกันแล้ว แต่ยังมีอาการเมาเครื่องบินหรือหูอื้ออยู่บ้าง RABBIT CARE ก็มีวิธีบรรเทาปัญหา ‘เมาเครื่องบิน’ และ ‘หูอื้อ’มาฝากกัน

1) ค่อยๆ หายใจเข้าและออกลึกๆ ให้ร่างกายปรับสมดุลหลังจากผ่านอาการเมาเครื่องบินได้ เพราะร่างกายในช่วงกำลังปรับให้ทั้งหูและตาสัมพันธ์กัน จำเป็นต้องอาศัยออกซิเจนมาให้สมองทำงานได้ดีขึ้นไม่เวียนหัวเท่าเดิม และระบบประสาทก็สามารถสงบลงได้ง่ายขึ้นด้วย

2) ตั้งสติแล้วมองออกไปนอกหน้าต่างไกลสุดลูกหูลูกตาดูที่เส้นขอบฟ้า เพื่อให้สายตาโฟกัสได้ง่าย ยิ่งโฟกัสภาพไม่ได้เหมือนสั่นสะเทือนตลอดเวลา ยิ่งอาจทำให้เมาเครื่องบินหนักกว่าเดิม

3) เมื่อเครื่องนิ่งแล้วอาจจะลุกขึ้นยืนซักพักหนึ่งพออาการดีขึ้นค่อยนั่งลง

4) ฟังเพลงหรือพูดคุยกับคนข้างๆ เพื่อให้ความสนใจพุ่งไปที่อื่นแทน

5) กดจุดบริเวณจุดชีพจรด้านซ้ายมือ ด้วยนิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนางข้างขวาประมาณ 4-5 วินาที

6) กลืนน้ำลาย อมลูกอม หรือเคี้ยวหมากฝรั่ง เพื่อให้ระดับความดันภายในและภายนอกหูสมดุลกัน

7) ทำวอลซอลวา หรือ เคลียร์หู ด้วยการสูดลมหายใจเข้าลึกๆ จากนั้นปิดปากและจมูกให้สนิท แล้วเบ่งลมออก พอคลายมือออกแล้วกลืนน้ำลายอีกซักครั้ง จากนั้นจะรู้สึกดีขึ้น แต่ถ้าใครเป็นหวัดหรืออยู่ในช่วงไซนัสอักเสบ ให้เปลี่ยนจากเบ่งลมออกเป็นกลืนน้ำลายแทน

 

แม้จะเดินทางอย่างปลอดภัย แต่ก็มีโอกาสเกิดอาการผิดปกติกับร่างกายระหว่างเดินทาง เช่น เมาเครื่องบิน หูอื้อ ฯลฯ ได้เสมอ (และอาการเหล่านี้บางคนอาจเป็นหนักถึงขั้นต้องเข้ารักษาที่โรงพยาบาล แทบไม่ได้เที่ยวหรือทำงานตามแพลนที่วางไว้เลย) เพราะงั้นอย่าลืมสมัคร ‘ประกันการเดินทางนอกประเทศ’ จาก RABBIT CARE เพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นขณะเดินทาง ด้วยเบี้ยประกันเริ่มต้นเพียงหลักร้อยต่อวัน หลักพันต่อปี ดูแลตั้งแต่ค่ารักษาขยายไปถึงความคุ้มครองอื่น เช่น กระเป๋าเดินทางเสียหาย ไฟลท์ดีเลย์ ฯลฯ รับรอง เดินทางรอบนี้มีแต่อุ่นใจ!